“ทุกงานเลี้ยงย่อมมีวันเลิกลา” เราเชื่อว่าหลาย ๆ คนน่าจะเคยได้ยินคำพูดคำนี้ผ่านหูมาไม่มากก็น้อย ซึ่งคำนี้เป็นคำที่แสดงให้เห็นถึงว่า ทุก ๆ อย่างย่อมมีการสิ้นสุด ซึ่งสัจธรรมนี้ไม่ได้ใช้ได้เพียงแค่ในชีวิตประจำวันเท่านั้น แต่ทว่ามันยังเป็นสิ่งที่สามารถเอาไปใช้ในโลกของอนิเมะได้อีกด้วย เพราะว่าแม้ว่าอนิเมะแต่ละเรื่องจะสนุก และ ดูเพลินขนาดไหนก็ตาม
แต่สุดท้ายแล้วความสนุกเหล่านั้นก็มีวันจบสิ้น แต่ถามว่ามันจะเป็นแบบนั้นกับอนิเมะทุกเรื่องเลยไหมเราก็ตอบว่า ไม่ใช่ เพราะว่ายังมีอนิเมะอีกจำนวนหนึ่งที่ฉายมาตั้งแต่เรายังเล็ก ๆ จนถึงปัจจุบันนี้ อนิเมะเหล่านั้นก็ยังไม่ และหนึ่งในอนิเมะที่เรายังมองไม่เห็นทีท่า หรือ แววจะลงเลยก็คงจะหนีไม่พ้น อนิเมะอย่าง โดราเอมอน
และถ้าเราพูดถึงอนิเมะอย่างโดราเอมอนแล้วภาพที่หลาย ๆ คนนึกขึ้นมาในหัวนั่นก็คือ ภาพของเจ้าแมวสีฟ้าแห่งโลกอนาคตที่มักจะงัดเอาของวิเศษต่าง ๆ มาช่วยเหลือเจ้าเด็กชายจอมขี้แยอย่าง โนบิตะ ซึ่งความสนุกแบบนี้นี่เองที่แม้ว่าตัวเนื้อเรื่องมันจะวนเวียนอยู่แบบนี้ก็ตาม แต่มันก็ทำให้เราสนุก และ ติดตามเรื่องราวของพวกเขาเหล่านี้มาโดยตลอด แต่เพราะไอ้เนื้อเรื่องที่มันวนไปวนมาอย่างนี้จนไม่รู้จบนี้เอง จึงทำให้หลาย ๆ คนเริ่มอยากรู้ว่าจริง ๆ แล้ว อนิเมะเรื่องนี้มันมีวันจบจริง ๆ หรือเปล่าเพราะขนาดคนเขียนอย่าง ฟูจิโกะ เอฟ. ฟูจิโอะ ได้เสียชีวิตไปแล้ว อนิเมะยังไม่มีทีท่าจะจบง่าย ๆ เลย แต่เราอยากบอกทุกคนที่คิดแบบนั้นว่า เชื่อหรือไม่ว่าจริง ๆ แล้ว Doraemon มีตอนจบมาแล้ว 5 ครั้ง
โดราเอมอนเริ่มต้นมาจากหนังสือสำหรับอ่านนอกเวลา
แต่ก่อนที่เราจะไปดูเรื่องราวขอตอนจบโดราเอมอนนั้น ก่อนอื่นเราต้องขอพาทุก ๆ คนไปดูจุดเริ่มต้นเรื่องราวทั้งหมดของ
โดราเอมอนกันก่อน ซึ่งหลาย ๆ คนอาจจะยังไม่เคยรู้ว่าจริง ๆ แล้ว หนังสือการ์ตูนอย่างโดราเอมอนนั้นเกิดขึ้นในฐานะหนังสืออ่านเล่นสำหรับเหล่าเด็กประถมในปี 1970 โดยจุดประสงค์ของมันนั่นก็คือเป็นการสนับสนุนให้เด็ก ๆ สามารถอ่านออกเขียนได้ และ สามารถสื่อสารได้ถึงกลุ่มเด็ก ๆ ในยุคนั้นนั่นเอง จึงทำให้ทางรัฐบาลได้มีการสั่งให้นักเขียนการ์ตูนในยุคนั้นเขียนหนังสือการ์ตูนอ่านนอกเวลาให้กับเด็ก ๆ และ อาจารย์ฟูจิโกะ เอฟ. ฟูจิโอะ เองก็เป็นหนึ่งในคนที่ต้องการจะเขียนการ์ตูนสำหรับเด็กชั้น ประถม 1 – 6
โดยก่อนหน้านั้นตัวของอาจารย์ ฟูจิโกะ เอฟ. ฟูจิโอะ เองก็มีผลงานที่เป็นผลงานสำหรับอ่านเล่นในวัยเรียนมาแล้วมากมายไม่ว่าจะเป็น ผีน้อยคิวทาโร่ หรือ Paman และในที่สุดในปี 1969 อาจารย์ก็ได้สร้างเจ้าแมวสีฟ้าจากโลกอนาคตที่มาเปลี่ยนชีวิตของเด็กชายขี้แยคนหนึ่ง และเมื่อโจทย์มันคือการเขียนให้เด็ก ๆ อ่านได้ทุก ๆ ชั้นปีจึงทำให้ทุกครั้งที่มีการเริ่มต้นเขียนให้เด็ก ๆ แต่ละชั้นอ่านจะต้องมีการเริ่มเนื้อเรื่องใหม่ และนั่นเองจึงทำให้เจ้าเรื่องนี้มีตอนจบที่ค่อนข้างหลากหลาย
โนบิตะ และ โดราเอมอน ในตอนแรกไม่ได้เป็นแบบที่เราเห็น

และเมื่อเนื้อหาถูกเขียนให้เด็กประถมอ่าน มันจึงทำให้ตัวของหนังสือการ์ตูนนั้นจะต้องมีการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับอายุของเด็กแต่ละชั้นปี ซึ่งถ้าใครได้เคยอ่านโดราเอมอนเวอร์ชันหนังสือการ์ตูนเล่ม 0 มาคุณน่าจะได้เห็นแล้วว่าจริง ๆ แล้วตัวตนของโนบิตะนั้นไม่ได้เป็นอย่างที่เราเห็นเหมือนกับทุกวันนี้ เพราะว่า จริง ๆ แล้วคาแรคเตอร์โนบิตะในตอนแรกนั้นเป็นเด็กที่ตั้งใจเรียน มีความรับผิดชอบ และ เป็นที่รักของเพื่อน ๆ ส่วนเจ้าโดราเอมอนนั้นจะกลายเป็นตัวป่วน และ สร้างความวุ่นวายด้วยของวิเศษจนทำให้โนบิตะต้องมาคอยแก้ปัญหาตลอด ซึ่งเจ้าเนื้อหาเหล่านี้นี่เองที่เป็นเนื้อหาที่ถูกทำเพื่อให้เด็กในช่วงประถม 1-3 และหลังจากนั้นเนื้อหามันก็จะค่อย ๆ เปลี่ยนไป จนกลายเป็นโดราเอมอนที่เราได้เห็นในปัจจุบันนี้เอง
ทำไมตัวของโดราเอมอนต้องเป็นสีฟ้า
อีกหนึ่งอย่างที่เป็นเอกลักษณ์ของโดราเอมอนนั่นก็คือ การที่มันเป็นแมวอ้วนกลมไร้หูสีฟ้านั่นเอง ซึ่งจริง ๆ ดีไซน์ดั้งเดิมของมันไม่ได้เป็นแบบนี้ เพราะว่าในตอนแรกตัวของโดราเอมอนมีร่างกายสีเหลือ และ หูเหมือนกับแมวทั่ว ๆ ไปนี่แหละ แต่ทว่าสุดท้ายแล้วหูนั้นก็ถูกเอาออกเพราะว่าการออกแบบให้เหมือนแมวมากเกินไปมันจะดูน่ากลัว ส่วนแนวคิดตอนแรกนั้นทางอาจารย์ฟูจิโกะก็ตั้งใจดีไซน์ให้เจ้าแมวตัวนี้มีสีแดง ไม่ก็สีเหลือง แต่เพราะว่าปกหนังสือในตอนนั้นจะใช้พื้นหลังเป็นสีเหลืองส่วนตัวหนังสือจะเป็นสีแดง มันจึงทำให้ทางอาจารย์ไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากจะต้องใช้สีน้ำเงินเป็นสีหลักบนตัวของ
โดราเอมอน ก่อนที่ต่อมามันจะลดโทนสีออกมาเป็นสีฟ้าแบบที่เราเห็นในปัจจุบัน และ สีเหลือก็นำไปใช้กับร่างของ
โดราเอมอนในสมัยก่อน ส่วนสีแดงก็นำไปใช้กับ MiniDora
ตอนจบของโดราเอมอนครั้งแรก
เอาละหลังจากที่เรียนรู้เรื่องราวต่าง ๆ ของโดราเอมอนกันมาพอสมควรแล้วตอนนี้ก็ถึงเวลาแล้วที่เราจะมาว่ากันถึงตอนจบของโดราเอมอนกัน ซึ่งอย่างที่เรากันไปข้างต้นว่า ในตอนแรกเรื่องนี้นั้นถูกดีไซน์ออกมาให้เป็นหนังสือสำหรับเด็ก มันจึงทำให้ในทุก ๆ ครั้งที่มีปีการจบศึกษาของเด็ก ๆ แต่ละชั้น เรื่องราวของโดราเอมอนก็จะต้องมีตอนจบเพื่อเป็นการแสดงให้เห็นถึงการเติบโตของเด็ก และ ยังเป็นการส่งต่อให้เด็ก ๆ ขึ้นชั้นเรียนใหม่เพื่อเริ่มต้นเรื่องราวใหม่อีกด้วย ซึ่งในเวอร์ชันหนังสือเรียนสำหรับเด็กเหล่านั้นก็มีตอนจบปรากฏออกมาทั้งสิ้น 5 ครั้ง
โดยตอนจบครั้งที่ 1 นั้นเกิดขึ้นในปี 1971 ซึ่งมันเป็นตอนจบที่จัดขึ้นฉลองครบรอบ 1 ปีของการตีพิมพ์หนังสือการ์ตูน
โดราเอมอนที่ในตอนนั้นยังเป็นหนังสืออ่านเล่นในฉบับชั้นประถมชั้นที่ 1 ในช่วงปี 1970 โดยเรื่องราวนั้นจะเล่าถึงความป่วนของคนจากโลกอนาคตที่มาสร้างความวุ่นวายในอดีต จนทำให้ตำรวจกาลเวลาต้องห้ามคนเดินทางกาลเวลา และแน่นอนว่าตัวของโดราเอมอนเองก็ถูกสั่งห้ามเช่นกัน จนทำให้ ทั้งโดราเอมอน และ โนบิตะเองก็ต้องจากลากัน แต่ถึงแบบนั้นแล้วบรรดาเหล่าเด็ก ๆ ในยุคนั้นก็รู้ดีว่าพวกเขาจะได้เจอเจ้าแมวสีฟ้าแห่งโลกอนาคตตัวนี้ต่อแน่นอนในชั้นปีที่ 2 ของพวกเขา
ตอนจบของโดราเอมอนครั้งที่สอง
ส่วนฉากจบของโดราเอมอนครั้งที่ 2 นั้นปรากฏออกในปี 1972 โดยฉากจบนี้เป็นการฉลองครบรอบ 2 ปีหนังสือการ์ตูน
โดราเอมอนครบ 2 ปี ซึ่งในครั้งนี้ฉากจบจะเปลี่ยนจากโดราเอมอนมาเป็นเหลนของโนบิตะ อย่าง โนบิ เซวาชิ
โดยเหลนคนนี้จะเห็นว่าคุณปู่ของเขานั้นเอาแต่เพิ่งพาโดราเอมอนมากจนเกินไป แถมอนาคตของเขาปู่ทวดของเขาก็ยังเปลี่ยนไปตามที่เขาต้องการแล้ว เขาจึงได้เรียกโดราเอมอนกลับโลกอนาคต แต่ทว่าโดราเอมอนนั้นกลับกลัวว่าโนบิตะจะไม่ยอมให้เขากลับไป มันจึงทำให้เหลนของโนบิตะ และ โดราเอมอน ร่วมมือกันโกหกว่าโดราเอมอนเสีย และต้องเอากลับไปซ่อม ซึ่งโนบิตะก็เชื่อคำโกหกนี้ และ ยอมส่งโดราเอมอนกลับไป ซึ่งหลังจากนั้นโนบิตะก็พยายามยืนด้วยตัวเองให้ได้ผ่านการดูของโดราเอมอนจากในอนาคต ซึ่งตอนนี้ถือได้ว่าเป็นอีกตอนจบหนึ่งที่ดีมาก ๆ ของโดราเอมอน
แต่นี่ยังเป็นเพียงแค่ตอนจบ 2 แบบเท่านั้น เพราะว่ายังเหลือตอนจบอีก 3 แบบที่รอคุณอยู่ดังนั้นเอาไว้เดี๋ยวครั้งหน้าเราค่อยมาสานต่อเรื่องราวของ เชื่อหรือไม่ว่าจริง ๆ แล้ว Doraemon มีตอนจบมาแล้ว 5 ครั้ง กันต่อในครั้งหน้า ซึ่งจะมาเมื่อไหร่ เอาเป็นว่า คุณต้องคอยติดตามกันให้ดี ๆ